จากการศึกษาดูงานลูกค้าในภาคอีสานที่ผ่านมา พบว่าในหลายบริษัทประสบปัญหาเรื่องกำลังการผลิตค่อนข้างมาก เนื่องจากปริมาณยางพาราในภาคอีสานเริ่มทยอยกรีดได้แล้วเป็นจำนวนมาก ปริมาณยางที่มากและมีลักษณะการขายยางแบบประมูลราคายาง ดังนั้นผู้ประมูลได้จะมียางเป็นวัตถุดิบจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องดำเนินการผลิตปรากฏว่าเครื่องจักรไม่สามารถทำการผลิตให้ได้เนื่องจาก เกินกำลังการผลิตของเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการปรึกษาผมเรื่องการวาง line ผลิตเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต อย่างไรก็ตามเครื่องจักรของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรที่ซื้อมามือ 2 มีทั้งแบบขอนตรงและขอนเฉียงในบริษัทเดียวกัน ไอ้ครั้นจะทิ้งไปซื้อเครื่องใหม่ให้เป็นระบบเดียวก็เสียดายเครื่องเพราะมันยังใช้ได้ ดังนั้นการจะต่อเชื่อมระบบกันระหว่างเครื่องจักรขอนตรงและขอนเฉียงให้ทำงานร่วมกัน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง เอาล่ะมาเริ่มกันเลยดีกว่า
จุดประสงค์ความต้องการของโรงงานต้องการเพิ่มกำลังการผลิตโดยการต่อเชื่อมเครื่องจักรเข้าด้วยกันเป็นอนุกรม
แต่เครื่องจักรที่ซื้อมือ 2 มาปฏิเสธไม่ได้ว่าบางทีก็ได้เครื่องขอนเฉียง บางทีก็ได้เครื่องขอนขนานมา
ซึ่งผมคิดว่าส่วนใหญ่จะได้ขอนขนานมานะ
แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ได้ขอนเฉียงมาด้วย
ถ้าจะเชื่อมระบบกันทำยังไงละทีนี้?
ก่อนอื่นเราต้องศึกษาข้อจำกัดของเครื่องจักรก่อน ตัวอย่าง มีเครื่องจักรที่ต้องการต่อระบบ line ผลิต 4 เครื่อง เป็นเครื่องขอนเฉียง 2 เครื่องขนาน 2 เครื่อง จะต่อกันยังไง?
1. เช็คสมรรถนะแต่ละเครื่อง : ความเร็วรอบเครื่องจักร/ความเร็วขอนขับ-ความเร็วขอนตาม (ขอนขับต่อตรงกับเกียร์และมอเตอร์)/ความสมบูรณ์ของเครื่อง/อื่นๆ (ขอสงวนไม่บอกครับ)
2. เครื่องที่มีสมรรถนะและspeed เร็วสุดอยู่หน้า จะเป็นเครื่องเฉียงหรือขนานก็ได้
3. เครื่องอื่นๆตามไล่ลงมาเป็นอนุกรม
4. ต่อline ด้วยสายพาน conveyor
5. การต่อ jumping กันระหว่างเครื่องเครพขอนขนานและขอนเฉียงเป็นศาสตร์อย่างมาก ขอสงวนไว้นะครับ อยากได้ปรึกษาเอาครับ
สรุปว่า สามารถต่อ Line ผลิตระหว่างขอนเฉียงและขอนขนาน ด้วยการวางสายพาน Conveyor Jumping กันได้ครับซึ่งมาจากการที่ผู้ประกอบการไปได้เครื่องมือ 2 มา ดังนั้นวิศวกรไทยเราก็ต้องประยุกต์ให้ได้จริงไหมครับ
Conveyor jumping พระเอกของเราครับในการเชื่อมต่อระบบ
ขอขอบคุณ: Material Flow & Conveyor Systems Inc.
สมพงค์
087-6923836
http://hatyaimechdesign.blogspot.com