รูปที่ 1 ภาพยางเครฟขาวที่ได้จากการผลิต
รูปที่ 2 ดอกลูกกลิ้งชุดแรก (ดอกหยาบ)
รูปที่ 3 ลูกกลิ้งชุดที่ 2 ซอยย่อยยาง
รูปที่ 4 ดอกละเอียดบดให้ยางติดกันเป็นแผ่น
รูปที่ 5 เครื่องรีดลูกกลิ้งเรียบ เพื่อการปรับลดขนาดให้ยางเครฟบาง
รูปที่ 6 เครื่องรีดยางเครฟในอุตสาหกรรมโรงงานยาง
ยางเครฟที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นแผ่นแล้ว
เครื่องจักรรีดยางเครปแบบ Manual มีข้อดีข้อเสียหลายประการดังนี้คือ
ข้อดี
1.บำรุงรักษาน้อย
2.รายละเอียดไม่ยุ่งยากซับซ้อนผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย
(ไม่ต้องฝึกใช้เครื่องนาน)
3.แข็งแรงทนทานใช้นานระดับ 30 ปีขึ้นไปถ้าบำรุงรักษาดี
4.ถูกกว่าระบบ Auto
ข้อเสีย
1.กำลังการผลิตไม่มากเพราะต้องรีดซ้ำๆกันหลายๆรอบ
2.ต้องใช้กำลังคนงานเยอะ
อย่างไรก็ตาม ระบบ manual ก็ยังเหมาะสมกับงานในระดับอุตสาหกรรมครัวเรือนอยู่ดีอันเนื่องมาจาก Capacity ในการผลิตยางเครฟของระบบนี้มีกำลังผลิตใกล้เคียงกับความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบของผู้ประกอบการ กล่าวคือกำลังการผลิตของเครื่องจักรประเภทนี้สามารถรีดยางเครฟได้กว่า 2.5-3 ตันยางเครฟ ต่อวันซึ่งนั่นก็เพียงพอที่จะผลิตยางเครฟในระดับครัวเรือนได้
วิธีการทำยางเครฟโดยเครื่อง Manual
1.จะใส่ก้อนยางถ้วยลงในเครื่องรีดยางเครฟและอัดรีดเลยโดยทำการรีดในเครื่องดอกหยาบ (ภาพที่2) ประมาณ 3 ครั้ง
2.แล้วจึงนำเอามารีดในเครื่องซอยยางในรูปที่ 3 ประมาณ 3ครั้ง
3.จากนั้นนำมาเข้าเครื่องรีดยางเครฟดอกละเอียดในรูปที่ 4 ประมาณ 3-5 ครั้ง แผ่นยางจะติดกันเองเป็นแผ่น
4.จากนั้นก็จะเข้ารีดแผ่นบางประมาณ 7-8 ครั้ง รวมทั้ง process ประมาณ 16 ครั้งเป็นอย่างน้อยเราก็จะได้ยางเครฟดังภาพครับ
สั่งเกตว่าเครื่องจักรในโรงงานจะมีขนาดใหญ่มาก และใช้กันมาเป็นเวลานานก่อนปลดระวาง
ในระบบ manual นี้ ทางโรงงานของเราพร้อมผลิตตามกำลังการจัดซื้อของลูกค้าได้ครับ
โปรดปรึกษาที่ฝ่ายขายของเราครับ
สมพงค์ 089-654-0349
sompong10000@hotmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น