ตลาดยางคอมปาวด์ MARKETTING COMPOUND RUBBER
ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องตลาดยางคอมปาวด์ ก็ต้องให้คำแนะนำก่อนว่า คำว่า (Rubber Compound) ยางคอมปาวด์ในทางเทคโนโลยี หมายถึง ส่วนผสมของยางกับสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ผสมกับยาง เป็นส่วนผสมที่ได้บดผสมให้มีความเป็นเนื้อเดียวกัน พร้อมที่จะขึ้นรูปเช่นเดียวกับยางมาสเตอร์แบทซ์ (Master Batch)
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3.2 ล้านตันต่อปี ใช้ยางธรรมชาติในประเทศ 10 เปอร์เซ็น นอกนั้นส่งออกต่างประเทศในรูปแบบของยางแผ่นรมควันอัดก้อน, ยางแท่ง และน้ำยางข้น 60 เปอร์เซ็นตามลำดับ
วัตถุดิบและกระบวนการผลิตยางคอมปาวด์ที่ใช้ในการแปรรูปยางคอมปาวด์ วัตถุดิบที่ใช้มียางแผ่นรมควัน, ยางแท่ง STR 20 หรือยางอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับยางที่กล่าวมา ในสถาบันเกษตรกรในปัจจุบันมีการผลิตประเภทของยางคอมปาวด์ 2 ชนิด 1). มียางคอมปาวนด์คาร์บอนแบล็ค(COMPOUND CARBON BLENDED RUBBER) กับ คอมปาวด์ RSS SBR 1502 โดยใช้ส่วนผสมแตกต่างกันออกไป ยางคอมปาวด์คาร์บอนแบล็คใช้ยางแผ่นรมควันผสมกับสารเคมีเขม่าดำ(Carbon Black N330) โดยมีอัตราส่วน ยางแผ่นรมควัน 95 % Carbon Black N330 5 % ส่วนยางคอมปาวด์ RSS SBR 1502 ใช้ยางแผ่นรมควันผสมกับยางเทียม SBR 1502โดยมีอัตราส่วน ยางแผ่นรมควัน 96 % ยางเทียม SBR 1502 3.5 % และ กรด STEARIC ACID 0.5 %2). ยางคอมปาวด์ STR 20 โดยกรรมวิธีการผลิตเหมือนกับการผลิตยางคอมปาวนด์แบบชนิดที่หนึ่ง จะแตกต่างกันก็ตรงที่ประเภทที่ 1 ใช้ยางแผ่นรมควันเป็นวัตถุดิบในการแปรรูป ส่วน ประเภทที่ 2 ใช้ยางแท่ง STR 20 เป็นวัตถุดิบในการแปรรูป
การผลิตยางคอมปาวด์เป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตยางเพื่อการส่งออก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันตลาดโลกปัจจุบันตลาดยางคอมปาวด์มีการขยายตลาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศจีน ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานหันมาแปรรูปเป็นยางคอมปาวด์เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับตลาดยางของจีนที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น แต่ผู้ประกอบการในประเทศไทยมีเพียงไม่กี่ราย ที่มีกำลังการผลิตยางคอมปาวด์ เพราะใช้ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง เนื่องจากเครื่องจักรมีราคาแพง และไม่สามารถสนองความต้องการของตลาดจีน
ตลาดยางคอมปาวด์ปัจจุบันเป็นตลาดที่สดใสกว่ายางตัวอื่นเนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก และมีราคาดีกว่ายางแผ่นรมควัน โดยเฉพาะประเทศจีนจะมีการเก็บภาษีนำเข้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 ส่วนยางคอมปาวด์ไม่มีการเก็บภาษีนำเข้าเป็นระยะเวลา 6 ปี ทำให้ลูกค้าหันมาสนใจใช้ยางตัวนี้เพิ่มมากขึ้น เพราะช่วยลดต้นทุนการผลิต เพราะรัฐบาลจีนกับประเทศคู่ค้ายาง มีข้อตกลงอัฟต้า (AFTA) ยกเว้นภาษีนำเข้าของจีนให้กับยางคอมปาวด์เพียงอย่างเดียว นอกจากยางคอมปาวด์แล้วยางทุกชนิดจะต้องเสียภาษีนำเข้า 20% บวก Vat อีก 17 % และมีคู่แข่งทางการค้าน้อย จึงเป็นโอกาสดีของผู้ส่งออกยางคอมปาวด์ โดยผู้ประกอบการส่งออก จะต้องมีใบรับรองจากกรมการค้าต่างประเทศ เรียกว่าเอกสารฟอร์มอี (Form E) เพื่อระบุแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศไทย ว่าเป็นยางคอมปาวด์ที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้น จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสู่ประเทศจีน เป็นช่องทางที่ทำการตลาดได้ดีกว่ายางชนิดอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น