ความรู้เกี่ยวกับจารบี
จารบีเป็นผลิตภัณฑ์หล่อลื่น มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวเหมาะสำหรับให้การหล่อลื่นในที่ซึ่งน้ำมันไม่สามารถจะให้การหล่อลื่นได้อย่างสมบูรณ์ เช่น แบริ่ง หรือลูกปืนบางชนิด แหนบ ลูกหมาก ฯลฯ จุดใช้งานเหล่านี้ ถ้าใช้น้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์หล่อลื่นย่อมมีปัญหาเรื่องการรั่วไหล หลุดกระเด็น ฝุ่น หรือส่งสกปรกแทรกตัวเข้าไปเจือปน ทำให้การหล่อลื่นไม่ได้ผล เกิดความเสียหายกันชิ้นส่วนของเครื่องจักร
การใช้จารบีจะมีคุณสมบัติในการเกาะชิ้นส่วนที่ต้องการหล่อลื่นได้ดีกว่าการใช้น้ำมันหล่อลื่น นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นตัวจับหรือป้องกันไม่ให้ฝุ่นผงและส่งสกปรกภายนอกเข้าไปทำความเสียหายกับผิวโลหะที่ใช้งานด้วย เราอาจเปรียบเทียบการหล่อลื่นด้วยน้ำมันและจารบีได้ดังนี้
จารบี | น้ำมัน |
เกาะจับได้ดีเหมาะกับชิ้นส่วนที่เปิด | อาจไหลออกได้ต้องอยู่ในส่วนที่ปิด |
เหมาะกับการใช้งานหนัก | เหมาะกับเครื่องจักรที่ปราณีต |
ไม่ต้องเติมบ่อยครั้ง | เหมาะสำหรับเครื่องที่ต้องการระบายความร้อนด้วย |
จุดที่ใช้จารบีก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับจุดหล่อลื่นจุดอื่นๆ หากเลือกใช้จารบีไม่ถูกต้องแล้วย่อมทำให้เกิดผลเสียหายและความสิ้นเปลืองตลอดเวลา ผู้ใช้จารบีหลายต่อหลายรายยังไม่ค่อยรู้จักคุณสมบัติและการใช้งานที่เหมาะสม ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและผิดพลาดในการใช้งาน ดังนั้นจึงขอแนะนำเรื่องจารบีให้ท่านผู้อ่านรู้จักกันโดยสังเขป ซึ่งจะเน้นเฉพาะจารบีที่เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเท่านั้น
ส่วนผสมการผลิตจารบี
จารบีได้จากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานผสมกับสารเคมีเพิ่มคุณภาพและสบู่ สบู่ที่ผสมลงไปจะทำให้จารบีข้นเหนียวเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งแข็งกึ่งเหลว ช่วยอุ้มและจับเกาะน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและสารเคมีเพิ่มคุณภาพไว้ ณ จุดหล่อลื่นโดยไม่เยิ้มทะลักออกมาภายนอก
น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานผสมกับสารเคมีเพิ่มคุณภาพก็คือน้ำมันหล่อลื่นสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่เราใช้งานอันอยู่นั่นเอง ความแตกต่างของจารบีแต่ละชนิดอยู่ที่คุณสมบัติของสบู่ที่ผสม โดยทั่วไปสบู่ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างด่างและกรดไขสัตว์หรือน้ำมันพืช ยกเว้นบางกรณีอาจสารอื่นๆ เป็นส่วนผสมแทนสบู่
คุณสมบัติของสบู่แต่ละชนิดมีผลโดยตรงถึงคุณสมบัติของจารบีดังนี้
ชนิดของสบู่ | คุณสมบัติของจารบีที่ได้ |
สบู่แคลเซียม | ทนน้ำไม่ทนความร้อน |
สบู่โซเดียม | ทนความร้อนไม่ทนน้ำ |
สบู่อลูมิเนียม | ทนน้ำไม่ทนความร้อน |
สบู่แคลเซียมคอมเพล็กซ์ | ทนน้ำ ทนความร้อนสูงและรับแรงกดได้ดี |
สบู่ลิเธียม | ทนน้ำ ทนความร้อน |
สบู่ลิเธียมคอมเพล็กซ์ | ทนน้ำ ทนความร้อนสูงและรับแรงกดได้ดี |
COLLOIDAL CLAY | ทนน้ำ ทนความร้อนสูงมาก |
วิธีการผลิตจารบี
เริ่มต้นเราต้องเอาไฮดรอกไซด์ของโลหะ (ด่าง) มาผสมกับไขสัตว์ หรือน้ำมันพืชให้เป็นสบู่เสียก่อน แล้วจึงผสมน้ำมันพื้นฐานกับสบู่ ขั้นต่อไปก็เติมสารเคมีเพิ่มคุณภาพต่างๆ ตามต้องการ ปกติแล้วกระบวนการทั้งหมดจะทำในภาชนะอันเดียว เรียกว่า Kettle เป็นถังเหล็กมีลักษณะทรงกลมสูงตอนล่างเป็นรูปกรวย ภายในมีเครื่องกวน ซึ่งหมุนอยู่ในแนวตั้ง เครื่องกวนจะกวนให้น้ำมันและสบู่คลุกเคล้าเข้ากันด้วย ภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด ให้ได้ผลิตภัณฑ์จารบีสำเร็จรูป
คุณสมบัติอื่นๆ ของจารบี
1. ความอ่อนแข็ง (Consistency)
จารบีชนิดเดียวกันอาจมีความอ่อนแข็งต่างกัน ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของสบู่และความหนืดของน้ำมันพื้นฐาน ทางสถาบันจารบีในสหรัฐอเมริกา (National Lubricating Grease Institute) หรือชื่อย่อ NLGI ได้กำหนดความอ่อนแข็งของจารบีออกเป็นเบอร์โดยปล่อยเครื่องมือรูปกรวยปลายแหลมให้ปักจมลงในเนื้อจารบี ในเวลา 5 วินาที (อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส) โดยเบอร์ต่ำเป็นจารบีที่เหลวหรืออ่อน (ระยะจมน้อย) ส่วนระยะจม (Penetration) วัดเป็นหน่วย 1/10 มิลลิเมตร ซึ่งแต่ละเบอร์แตกต่างกันดังนี้
เบอร์ความแข็งจารบี NGLI No. | ระยะจม (1/10 มม.) ที่ 25 องศาเซลเซียส |
000 | 445-475 |
00 | 400-430 |
0 | 355-385 |
1 | 310-340 |
2 | 265-295 |
3 | 220-250 |
4 | 175-205 |
5 | 130-160 |
6 | 85-115 |
2. จุดหยด (Dropping Point)
เนื่องจากจารบีเป็นส่วนผสมของน้ำมันหล่อลื่นและสารเกาะติดประเภทสบู่ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โอกาสที่น้ำมันจะเยิ้ม แยกตัวออกมาย่อมเป็นไปได้มาก จุดหยดของจารบีคือ อุณหภูมิซึ่งจารบีหมดความคงตัวเยิ้มไหลกลายเป็นของเหลว ดังนั้นจุดหยดตัวจึงเป็นจุดบ่งบอกถึงอุณหภูมิสูงสุดที่จารบีทนได้
3. สารเคมีเพิ่มคุณสมบัติ (Additive)
สารเคมีเพิ่มคุณภาพที่ผสมอยู่ในจารบี มีผลในการใช้งาน สารเคมีเพิ่มคุณภาพที่ผสม ได้แก่ สารรับแรงกดแรงกระแทก (EP หรือ Extreme pressure additive) สารป้องกันสนิมและการกัดกร่อน ฯลฯ นอกจากนี้ถ้าเป็นจารบีใช้งานพิเศษบางชนิดอาจจะผสมสารหล่อลื่นลงไปด้วย เช่น โมลิบดินั่มไดซัลไฟด์ กราไฟท์ ฯลฯ
การเลือกใช้จารบี
จารบีที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายประเภทผู้ใช้ต้องพิจารณาถึงการเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้มีดังนี้
จารบีทนความร้อน
- สัมผัสกับน้ำและความชื้นหรือไม่ ถ้าสัมผัสหรือเกี่ยวข้องต้องเลือกใช้จารบีประเภททนน้ำ ถ้าเลือกใช้ผิดประเภทจารบีจะดูดความชื้นหรือน้ำ ทำให้เยิ้มหลุดออกจากจุดหล่อลื่นได้
- อุณหภูมิใช้งานสูงมาน้อยแค่ไหน จุดใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า 80 องศาเซลเซียส ควรเลือกใช้จารบีประเภททนความร้อน ถ้าเลือกใช้ไม่ถูกต้อง จารบีจะเยิ้มเหลวทะลักออกมาจากจุดหล่อลื่น
- ในกรณีที่สัมผัสทั้งน้ำและความร้อน ควรเลือกใช้จารบีอเนกประสงค์ (Multipurpose) คุณภาพดีหรือจารบีคอมเพล็กซ์ (Complex) ซึ่งแน่นอนว่าราคาย่อมแพงกว่าจารบีประเภททนน้ำหรือความร้อนเพียงอย่างเดียว
- มีแรงกดแรงกระแทกระหว่างการใช้งาน ถ้ามากควรพิจารณาเลือกใช้จารบีประเภทผสมสารรับแรงกดแรงกระแทก (EP Additive)
- สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น ถ้ามีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก จะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ต้องอัดจารบีบ่อยครั้งขึ้น
- วิธีการใช้งาน ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ถ้าเป็นแบบจุดจ่ายกลาง (Central system) ก็ควรใช้จารบีอ่อน คือเบอร์ 0 หรือ เบอร์ 1 ถ้าเป็นพวกกระปุกเฟืองเกียร์ก็ควรใช้จารบีอ่อนคือเบอร์ 0 หรือ 1 ถ้าอัดด้วยมืออัดหรือปืนอัด อาจใช้เบอร์ 2 ถึง 3 หรือแข็งกว่านี้ ป้ายหรือทาด้วยมือความแข็งอ่อนไม่สำคัญมากนัก นอกจากนั้นถ้าเป็นจุดที่ยากต่อการหล่อลื่นควรใช้สเปรย์จารบีประเภทที่อยู่ในรูปของจารบีเหลวในกระป๋องสเปรย์ ซึ่งเมื่อฉีดพ่นออกมาแล้วจะสามารถไหลแทรกซึมเข้าไปตามซอกมุมต่างๆ แล้วเปลี่ยนสภาพกลายเป็นจารบีกึ่งแข็งกึ่งเหลวปกติ และคงสภาพการหล่อลื่นตลอดไปข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.maintenancespray.com
จารบีทนน้ำ
จารบีเอนกประสงค์
ที่มา
ตำแหน่งที่จะทำการหล่อลื่นในเครื่องรีดยางเครพ
หล่อลื่นบริเวณเสื้อแบริ่งหรือเสื้อบู๊ช
เป้าหมายหล่อลื่นแบริ่งหรือบุ๊ช
ตำแหน่งการอัดจารบีที่หัวอัด เหนือเสื้อแบริ่ง
สมพงค์
087-6923836
http://hatyaimechdesign.blogspot.com