ในการใช้งานเครื่องจักรกลบ่อยครั้งที่เราพบว่าเครื่องจักรเก่าๆ ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานที่ล้าสมัย หรือส่วนประกอบบางส่วนอาจเกิดความเสียหายทำให้ไม่สามารถใช้งานได้แต่ส่วนประกอบหลัก ๆ ยังสามารถใช้งานได้ดี ดังนั้น การปรับปรุงฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องจักรโดยปรับปรุงชุดควบคุม (Controller) การปรับปรุงระบบขับเคลื่อนแกน (Drive System) เช่น มอเตอร์ (Motor), ไดร์ฟเวอร์ (Driver) และการปรับปรุงระบบ (Mechanic System) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสามอย่างรวมกันเพื่อให้เครื่องจักรที่เสียหาย หรือล้าสมัยสามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง เรียกว่า การรีโทรฟิต ชนิดของการรีโทรฟิต ชนิดของการรีโทรฟิตขึ้นอยู่กับสภาพของเครื่องจักร และฟังก์ชันการทำงานที่ต้องการหลังจากการรีโทรฟิตหากเครื่องจักรเดิมเกิดความเสียหายมากหรือต้องการฟังก์ชันการทำงานพิเศษรวมทั้งเครื่องจักรอาจมีอุปกรณ์เพิ่มเติมแน่นอนว่าการรีโทรฟิตย่อมต้องการทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงรวมทั้งต้นทุนในการพัฒนาซอฟแวร์เพิ่มเติมอย่างไรก็ตามเราสามารถแบ่งการรีโทรฟิตได้สามระดับตามความเสียหาย และความคุ้มค่าโดยประยุกต์ให้เหมาะสม กับผู้ประกอบการในไทย ดังนี้ 1. แบบพื้นฐาน คือ การเปลี่ยนเฉพาะชุดควบคุมเหมาะสำหรับเครื่องจักรที่อุปกรณ์ในระบบควบคุมมีปัญหา เกิดการชำรุดเสียหายจากอายุการใช้งานไม่สามารถซ่อมหรือนำมาเปลี่ยนใหม่ได้เนื่องจากผู้ผลิตได้ยกเลิกการผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวเพราะล้าสมัยหรือมีรุ่นใหม่มาแทนอย่างไรก็ตามการรีโทรฟิตแบบพื้นฐานใช้ต้นทุนต่ำความสำเร็จจึงมีน้อยเมื่อเทียบกับการรีโทรฟิตแบบกึ่งสมบูรณ์และแบบสมบูรณ์ 2. แบบกึ่งสมบูรณ์ เป็นการเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์ควบคุมทางไฟฟ้าที่สำคัญ คือ ชุดควบคุม และมอเตอร์ ขับเคลื่อนแกนทั้งหมด จากข้อ 1 ผู้อ่านได้ทราบถึงกระบวนการเปลี่ยนหรือปรับปรุงคอนโทรลเลอร์ไปแล้วเพราะฉะนั้นจึงขอกล่าวเพิ่มเติมในส่วนของระบบขับเคลื่อนแกน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เซอร์โวมอเตอร์ (Servo Motor) เป็นตัวขับเคลื่อนสำหรับเทคโนโลยีเดิมจะมีทั้งสเตปเปอร์มอเตอร์ (Stepper Motor) และมอเตอร์กระแสตรง (DC Motor) มักจะเกิดปัญหา ซึ่งในประเทศไทยการที่จะหาอะไหล่เหล่านี้เป็นเรื่องยากหรือถ้ามีส่วนใหญ่มักเป็นของมือสอง และมีราคาสูง ผู้ขายไม่สามารถรับประกันได้ การรีโทรฟิตแบบนี้สามารถให้ความสำเร็จในระดับปานกลางด้วยราคาต้นทุนในระดับปานกลางเช่นกัน 3. แบบสมบรูณ์ หลังจากที่ได้ทราบถึงการรีโทรฟิตในข้อที่ 1 และ 2 แล้วการรีโทรฟิตที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดลำดับสุดท้ายคือ แบบสมบูรณ์ โดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมทางไฟฟ้าเกือบทั้งหมดโดยรวมถึงการเปลี่ยนคอนโทรลเลอร์ระบบมอเตอร์ขับเคลื่อนแกนทั้งหมด ซึ่งจะได้ความถูกต้องแม่นยำในการเคลื่อนที่ใกล้เคียงกับเครื่องจักรใหม่ในงบประมาณการลงทุนของผู้ประกอบการที่ต่ำกว่ามาก การรีโทรฟิตยังขึ้นอยู่กับระบบอื่น ๆ ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับตัวเครื่องจักรอีกด้วย เช่น แบบแปลน ระบบของเครื่อง (System Diagram), ระบบลมอัด (Pneumatic System), ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic System) และฟังก์ชั่นที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับเครื่องจักรนั้น ๆ ระบบตู้คอนโทรลเครื่องยางเครพ สมพงค์ http://hatyaimechdesign.blogspot.com 087-6923836 |
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
รีโทรฟิต (Retrofit) คืออะไร
รีโทรฟิต คืออะไร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น