วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การสร้างโรงงานยางเครพเริ่มจากศูนย์ (ที่ดินเปล่า) ตอนที่2 การเขียนแบบแปลน

จากตอนที่ 1 ที่เราทำการวัดขนาดพื้นที่และปักหมุดบอกตำแหน่งเรียบร้อยแล้วขั้นต่อไปคือการเขียนแบบเพื่อที่จะได้นำแบบที่เขียนขึ้นมาโดยผ่านการรับรองของสถาปนิก วิศวกรโยธา วิศวกรสิ่งแวดล้อม วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรไฟฟ้า ไปขออนุญาติหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการออกใบอนุญาตให้สร้างโรงงานและขอจดทะเบียนบริษัทต่อไป ตัวอย่างแบบโรงงานบางส่วน:

แบบการวางผังโรงงานโดยรวม
 
จากการวัดพื้นที่โดยรอบแล้วจึงทำการกำหนดขนาดผังอาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆในแบบโดยรวม

ตัวอย่างแบบอาคารสำนักงานภายนอก

ตัวอย่างรายละเอียดแบบสำนักงานภายใน

แบบรายละเอียดโรงทำยางเครพและโรงตากยาง


แบบโรงงานยางเครพภายนอก


สิ่งสำคัญที่สุดในการออกแบบโรงงานทำยางเครพคือขนาดพื้นที่ที่ต้องการในการทำบ่อบำบัดน้ำเสียซึ่งไม่ได้ลงไว้ให้ ณ ที่นี้ ขั้นตอนต่อไปของการสร้างโรงงานตั้งแต่ศูนย์คือการขออนุญาตต่างๆจะได้นำเสนอในตอนต่อไป

สมพงค์
087-6923836
http://hatyaimechdesign.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างงาน โปรเจ็คสร้างโรงงานยางเครพที่เริ่มจากศูนย์ (พื้นที่เป็นดินเปล่า) ตอนที่ 1


 ตัวอย่างงาน โปรเจ็คสร้างโรงงานยางเครพที่เริ่มจากศูนย์ (พื้นที่เป็นดินเปล่า) ตอนที่ 1

เนื่องด้วยมีผู้สนใจที่จะเริ่มสร้างโรงงานยางเครพใหม่ มาสอบถามผมเกี่ยวกับการที่เราจะลงทุนก่อสร้างโรงงานยางเครพซักแห่งหนึ่งเพื่อรองรับปริมาณยางที่ทยอยออกมามากทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน ดังนั้นบทความนี้ผมจึงลงตัวอย่างที่ผมไปเริ่มวางโครงการที่จะก่อสร้างโรงงานยางเครพใหม่ๆเลยในภาคใต้ โดยเริ่มจากศูนย์คือมีแต่พื้นที่กันเลยทีเดียว ว่าแล้วก็มาเริ่มกันครับ 

                **** ก่อนที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจโรงงานใดๆ เราต้องมั่นใจก่อนครับว่าของที่เราจะผลิตต้องขายได้ (มีออร์เดอร์) ดังนั้นจึงควรหาแหล่งที่เราจะจำหน่ายก่อนครับอันนี้สำคัญมากเป็นอันดับหนึ่งเลย (อันนี้สงวนไว้ไม่บอกนะครับ ผมคิดว่าทุกท่านคงมีประสบการณ์ดีกว่าผม) ****

เริ่มด้วยสำรวจที่ก่อนครับ

                เหตุผลความจำเป็นของการสำรวจที่ เพื่อให้ทราบกายภาพ ภูมิประเทศ ดิน น้ำ ตำแหน่ง เพื่อกำหนดตำแหน่งการวางอาคารเพื่อสร้างโรงงานครับ

1.สำรวจกายภาพโดยรอบ/ทิศทางลม/ทิศทางแดด/ความสูงต่ำของที่/การระบายน้ำ/แหล่งน้ำ ฯลฯ 



สังเกตุพื้นที่โดยรอบ ทำการจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ เพื่อลงในแบบละเอียดในงานก่อสร้าง

2.วัดขนาดพื้นที่คร่าวๆ พร้อมทั้งกำหนดตำแหน่งวางอาคารหลักๆที่จะใช้ในการผลิตยางเครพ








กำหนดขนาดพื้นที่ก่อสร้างอาคารโดยการปักไม้หมุดเครื่องหมายไว้

ขั้นตอนต่อไปโปรดรอตอนที่ 2 ครับ
สมพงค์
087-6923836
รับซ่อมเครื่องจักรยางเครพมือ2 สร้างเครื่องจักรยางเครพมือ 1 รับปรึกษาสร้างโรงงานยางเครพ

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การต่ออนุกรมเครื่องจักรรีดยางเครพ เพื่อการประกอบกันเป็น Line ผลิต


จากการศึกษาดูงานลูกค้าในภาคอีสานที่ผ่านมา พบว่าในหลายบริษัทประสบปัญหาเรื่องกำลังการผลิตค่อนข้างมาก เนื่องจากปริมาณยางพาราในภาคอีสานเริ่มทยอยกรีดได้แล้วเป็นจำนวนมาก      ปริมาณยางที่มากและมีลักษณะการขายยางแบบประมูลราคายาง  ดังนั้นผู้ประมูลได้จะมียางเป็นวัตถุดิบจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องดำเนินการผลิตปรากฏว่าเครื่องจักรไม่สามารถทำการผลิตให้ได้เนื่องจาก    เกินกำลังการผลิตของเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการปรึกษาผมเรื่องการวาง line ผลิตเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต    อย่างไรก็ตามเครื่องจักรของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรที่ซื้อมามือ 2 มีทั้งแบบขอนตรงและขอนเฉียงในบริษัทเดียวกัน ไอ้ครั้นจะทิ้งไปซื้อเครื่องใหม่ให้เป็นระบบเดียวก็เสียดายเครื่องเพราะมันยังใช้ได้ ดังนั้นการจะต่อเชื่อมระบบกันระหว่างเครื่องจักรขอนตรงและขอนเฉียงให้ทำงานร่วมกัน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง เอาล่ะมาเริ่มกันเลยดีกว่า
 จุดประสงค์ความต้องการของโรงงานต้องการเพิ่มกำลังการผลิตโดยการต่อเชื่อมเครื่องจักรเข้าด้วยกันเป็นอนุกรม


แต่เครื่องจักรที่ซื้อมือ 2 มาปฏิเสธไม่ได้ว่าบางทีก็ได้เครื่องขอนเฉียง บางทีก็ได้เครื่องขอนขนานมา

ซึ่งผมคิดว่าส่วนใหญ่จะได้ขอนขนานมานะ
แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ได้ขอนเฉียงมาด้วย

ถ้าจะเชื่อมระบบกันทำยังไงละทีนี้?

ก่อนอื่นเราต้องศึกษาข้อจำกัดของเครื่องจักรก่อน ตัวอย่าง มีเครื่องจักรที่ต้องการต่อระบบ line ผลิต 4 เครื่อง เป็นเครื่องขอนเฉียง 2 เครื่องขนาน 2 เครื่อง จะต่อกันยังไง?

1.       เช็คสมรรถนะแต่ละเครื่อง :  ความเร็วรอบเครื่องจักร/ความเร็วขอนขับ-ความเร็วขอนตาม (ขอนขับต่อตรงกับเกียร์และมอเตอร์)/ความสมบูรณ์ของเครื่อง/อื่นๆ (ขอสงวนไม่บอกครับ)
2.       เครื่องที่มีสมรรถนะและspeed เร็วสุดอยู่หน้า จะเป็นเครื่องเฉียงหรือขนานก็ได้
3.       เครื่องอื่นๆตามไล่ลงมาเป็นอนุกรม
4.       ต่อline ด้วยสายพาน conveyor
5.       การต่อ jumping กันระหว่างเครื่องเครพขอนขนานและขอนเฉียงเป็นศาสตร์อย่างมาก ขอสงวนไว้นะครับ อยากได้ปรึกษาเอาครับ
สรุปว่า สามารถต่อ Line ผลิตระหว่างขอนเฉียงและขอนขนาน ด้วยการวางสายพาน Conveyor Jumping กันได้ครับซึ่งมาจากการที่ผู้ประกอบการไปได้เครื่องมือ 2 มา ดังนั้นวิศวกรไทยเราก็ต้องประยุกต์ให้ได้จริงไหมครับ

 Conveyor jumping พระเอกของเราครับในการเชื่อมต่อระบบ

ขอขอบคุณ: Material Flow & Conveyor Systems Inc.

สมพงค์
087-6923836
http://hatyaimechdesign.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับจารบี

ความรู้เกี่ยวกับจารบี

                      จารบีเป็นผลิตภัณฑ์หล่อลื่น มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวเหมาะสำหรับให้การหล่อลื่นในที่ซึ่งน้ำมันไม่สามารถจะให้การหล่อลื่นได้อย่างสมบูรณ์ เช่น แบริ่ง หรือลูกปืนบางชนิด แหนบ ลูกหมาก ฯลฯ จุดใช้งานเหล่านี้ ถ้าใช้น้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์หล่อลื่นย่อมมีปัญหาเรื่องการรั่วไหล หลุดกระเด็น ฝุ่น หรือส่งสกปรกแทรกตัวเข้าไปเจือปน ทำให้การหล่อลื่นไม่ได้ผล เกิดความเสียหายกันชิ้นส่วนของเครื่องจักร
          การใช้จารบีจะมีคุณสมบัติในการเกาะชิ้นส่วนที่ต้องการหล่อลื่นได้ดีกว่าการใช้น้ำมันหล่อลื่น นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นตัวจับหรือป้องกันไม่ให้ฝุ่นผงและส่งสกปรกภายนอกเข้าไปทำความเสียหายกับผิวโลหะที่ใช้งานด้วย เราอาจเปรียบเทียบการหล่อลื่นด้วยน้ำมันและจารบีได้ดังนี้ 

จารบี
น้ำมัน
เกาะจับได้ดีเหมาะกับชิ้นส่วนที่เปิด
อาจไหลออกได้ต้องอยู่ในส่วนที่ปิด
เหมาะกับการใช้งานหนัก
เหมาะกับเครื่องจักรที่ปราณีต
ไม่ต้องเติมบ่อยครั้ง
เหมาะสำหรับเครื่องที่ต้องการระบายความร้อนด้วย

     จุดที่ใช้จารบีก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับจุดหล่อลื่นจุดอื่นๆ หากเลือกใช้จารบีไม่ถูกต้องแล้วย่อมทำให้เกิดผลเสียหายและความสิ้นเปลืองตลอดเวลา ผู้ใช้จารบีหลายต่อหลายรายยังไม่ค่อยรู้จักคุณสมบัติและการใช้งานที่เหมาะสม ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและผิดพลาดในการใช้งาน  ดังนั้นจึงขอแนะนำเรื่องจารบีให้ท่านผู้อ่านรู้จักกันโดยสังเขป ซึ่งจะเน้นเฉพาะจารบีที่เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเท่านั้น

ส่วนผสมการผลิตจารบี 
          จารบีได้จากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานผสมกับสารเคมีเพิ่มคุณภาพและสบู่  สบู่ที่ผสมลงไปจะทำให้จารบีข้นเหนียวเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งแข็งกึ่งเหลว ช่วยอุ้มและจับเกาะน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและสารเคมีเพิ่มคุณภาพไว้ ณ จุดหล่อลื่นโดยไม่เยิ้มทะลักออกมาภายนอก
          น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานผสมกับสารเคมีเพิ่มคุณภาพก็คือน้ำมันหล่อลื่นสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่เราใช้งานอันอยู่นั่นเอง ความแตกต่างของจารบีแต่ละชนิดอยู่ที่คุณสมบัติของสบู่ที่ผสม โดยทั่วไปสบู่ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างด่างและกรดไขสัตว์หรือน้ำมันพืช ยกเว้นบางกรณีอาจสารอื่นๆ เป็นส่วนผสมแทนสบู่
          คุณสมบัติของสบู่แต่ละชนิดมีผลโดยตรงถึงคุณสมบัติของจารบีดังนี้

ชนิดของสบู่
คุณสมบัติของจารบีที่ได้
สบู่แคลเซียม
ทนน้ำไม่ทนความร้อน
สบู่โซเดียม
ทนความร้อนไม่ทนน้ำ
สบู่อลูมิเนียม
ทนน้ำไม่ทนความร้อน
สบู่แคลเซียมคอมเพล็กซ์
ทนน้ำ ทนความร้อนสูงและรับแรงกดได้ดี
สบู่ลิเธียม
ทนน้ำ ทนความร้อน
สบู่ลิเธียมคอมเพล็กซ์
ทนน้ำ ทนความร้อนสูงและรับแรงกดได้ดี
COLLOIDAL CLAY
ทนน้ำ ทนความร้อนสูงมาก

วิธีการผลิตจารบี
          เริ่มต้นเราต้องเอาไฮดรอกไซด์ของโลหะ (ด่าง) มาผสมกับไขสัตว์ หรือน้ำมันพืชให้เป็นสบู่เสียก่อน แล้วจึงผสมน้ำมันพื้นฐานกับสบู่ ขั้นต่อไปก็เติมสารเคมีเพิ่มคุณภาพต่างๆ ตามต้องการ ปกติแล้วกระบวนการทั้งหมดจะทำในภาชนะอันเดียว เรียกว่า Kettle เป็นถังเหล็กมีลักษณะทรงกลมสูงตอนล่างเป็นรูปกรวย ภายในมีเครื่องกวน ซึ่งหมุนอยู่ในแนวตั้ง เครื่องกวนจะกวนให้น้ำมันและสบู่คลุกเคล้าเข้ากันด้วย ภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด ให้ได้ผลิตภัณฑ์จารบีสำเร็จรูป 

คุณสมบัติอื่นๆ ของจารบี 
1. ความอ่อนแข็ง (Consistency)
          จารบีชนิดเดียวกันอาจมีความอ่อนแข็งต่างกัน ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของสบู่และความหนืดของน้ำมันพื้นฐาน ทางสถาบันจารบีในสหรัฐอเมริกา (National Lubricating Grease Institute) หรือชื่อย่อ NLGI ได้กำหนดความอ่อนแข็งของจารบีออกเป็นเบอร์โดยปล่อยเครื่องมือรูปกรวยปลายแหลมให้ปักจมลงในเนื้อจารบี ในเวลา 5 วินาที (อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส) โดยเบอร์ต่ำเป็นจารบีที่เหลวหรืออ่อน (ระยะจมน้อย) ส่วนระยะจม (Penetration) วัดเป็นหน่วย 1/10 มิลลิเมตร ซึ่งแต่ละเบอร์แตกต่างกันดังนี้ 

เบอร์ความแข็งจารบี
 NGLI  No.
ระยะจม (1/10 มม.)
ที่ 25 องศาเซลเซียส
000
445-475
00
400-430
0
355-385
1
310-340
2
265-295
3
220-250
4
175-205
5
130-160
6
85-115

2. จุดหยด (Dropping Point)
          เนื่องจากจารบีเป็นส่วนผสมของน้ำมันหล่อลื่นและสารเกาะติดประเภทสบู่ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โอกาสที่น้ำมันจะเยิ้ม แยกตัวออกมาย่อมเป็นไปได้มาก จุดหยดของจารบีคือ อุณหภูมิซึ่งจารบีหมดความคงตัวเยิ้มไหลกลายเป็นของเหลว ดังนั้นจุดหยดตัวจึงเป็นจุดบ่งบอกถึงอุณหภูมิสูงสุดที่จารบีทนได้ 

3. สารเคมีเพิ่มคุณสมบัติ (Additive)
          สารเคมีเพิ่มคุณภาพที่ผสมอยู่ในจารบี มีผลในการใช้งาน สารเคมีเพิ่มคุณภาพที่ผสม ได้แก่ สารรับแรงกดแรงกระแทก  (EP  หรือ  Extreme pressure additive) สารป้องกันสนิมและการกัดกร่อน ฯลฯ นอกจากนี้ถ้าเป็นจารบีใช้งานพิเศษบางชนิดอาจจะผสมสารหล่อลื่นลงไปด้วย เช่น โมลิบดินั่มไดซัลไฟด์  กราไฟท์ ฯลฯ
การเลือกใช้จารบี
          จารบีที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายประเภทผู้ใช้ต้องพิจารณาถึงการเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้มีดังนี้
จารบีทนความร้อน
  1. สัมผัสกับน้ำและความชื้นหรือไม่ ถ้าสัมผัสหรือเกี่ยวข้องต้องเลือกใช้จารบีประเภททนน้ำ ถ้าเลือกใช้ผิดประเภทจารบีจะดูดความชื้นหรือน้ำ ทำให้เยิ้มหลุดออกจากจุดหล่อลื่นได้
  2. อุณหภูมิใช้งานสูงมาน้อยแค่ไหน จุดใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า 80 องศาเซลเซียส ควรเลือกใช้จารบีประเภททนความร้อน ถ้าเลือกใช้ไม่ถูกต้อง จารบีจะเยิ้มเหลวทะลักออกมาจากจุดหล่อลื่น
  3. ในกรณีที่สัมผัสทั้งน้ำและความร้อน ควรเลือกใช้จารบีอเนกประสงค์ (Multipurpose) คุณภาพดีหรือจารบีคอมเพล็กซ์ (Complex) ซึ่งแน่นอนว่าราคาย่อมแพงกว่าจารบีประเภททนน้ำหรือความร้อนเพียงอย่างเดียว
  4. มีแรงกดแรงกระแทกระหว่างการใช้งาน ถ้ามากควรพิจารณาเลือกใช้จารบีประเภทผสมสารรับแรงกดแรงกระแทก (EP  Additive)
  5. สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น ถ้ามีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก จะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ต้องอัดจารบีบ่อยครั้งขึ้น
  6. วิธีการใช้งาน ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ถ้าเป็นแบบจุดจ่ายกลาง (Central system) ก็ควรใช้จารบีอ่อน คือเบอร์ 0 หรือ เบอร์ 1 ถ้าเป็นพวกกระปุกเฟืองเกียร์ก็ควรใช้จารบีอ่อนคือเบอร์ 0 หรือ 1 ถ้าอัดด้วยมืออัดหรือปืนอัด อาจใช้เบอร์ 2 ถึง 3 หรือแข็งกว่านี้ ป้ายหรือทาด้วยมือความแข็งอ่อนไม่สำคัญมากนัก นอกจากนั้นถ้าเป็นจุดที่ยากต่อการหล่อลื่นควรใช้สเปรย์จารบีประเภทที่อยู่ในรูปของจารบีเหลวในกระป๋องสเปรย์ ซึ่งเมื่อฉีดพ่นออกมาแล้วจะสามารถไหลแทรกซึมเข้าไปตามซอกมุมต่างๆ แล้วเปลี่ยนสภาพกลายเป็นจารบีกึ่งแข็งกึ่งเหลวปกติ และคงสภาพการหล่อลื่นตลอดไปข้อมูลเพิ่มเติมที่   www.maintenancespray.com


จารบีทนน้ำ
จารบีเอนกประสงค์
ที่มา 

ตำแหน่งที่จะทำการหล่อลื่นในเครื่องรีดยางเครพ
หล่อลื่นบริเวณเสื้อแบริ่งหรือเสื้อบู๊ช
เป้าหมายหล่อลื่นแบริ่งหรือบุ๊ช
ตำแหน่งการอัดจารบีที่หัวอัด เหนือเสื้อแบริ่ง

สมพงค์
087-6923836
http://hatyaimechdesign.blogspot.com