วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับจารบี

ความรู้เกี่ยวกับจารบี

                      จารบีเป็นผลิตภัณฑ์หล่อลื่น มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวเหมาะสำหรับให้การหล่อลื่นในที่ซึ่งน้ำมันไม่สามารถจะให้การหล่อลื่นได้อย่างสมบูรณ์ เช่น แบริ่ง หรือลูกปืนบางชนิด แหนบ ลูกหมาก ฯลฯ จุดใช้งานเหล่านี้ ถ้าใช้น้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์หล่อลื่นย่อมมีปัญหาเรื่องการรั่วไหล หลุดกระเด็น ฝุ่น หรือส่งสกปรกแทรกตัวเข้าไปเจือปน ทำให้การหล่อลื่นไม่ได้ผล เกิดความเสียหายกันชิ้นส่วนของเครื่องจักร
          การใช้จารบีจะมีคุณสมบัติในการเกาะชิ้นส่วนที่ต้องการหล่อลื่นได้ดีกว่าการใช้น้ำมันหล่อลื่น นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นตัวจับหรือป้องกันไม่ให้ฝุ่นผงและส่งสกปรกภายนอกเข้าไปทำความเสียหายกับผิวโลหะที่ใช้งานด้วย เราอาจเปรียบเทียบการหล่อลื่นด้วยน้ำมันและจารบีได้ดังนี้ 

จารบี
น้ำมัน
เกาะจับได้ดีเหมาะกับชิ้นส่วนที่เปิด
อาจไหลออกได้ต้องอยู่ในส่วนที่ปิด
เหมาะกับการใช้งานหนัก
เหมาะกับเครื่องจักรที่ปราณีต
ไม่ต้องเติมบ่อยครั้ง
เหมาะสำหรับเครื่องที่ต้องการระบายความร้อนด้วย

     จุดที่ใช้จารบีก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับจุดหล่อลื่นจุดอื่นๆ หากเลือกใช้จารบีไม่ถูกต้องแล้วย่อมทำให้เกิดผลเสียหายและความสิ้นเปลืองตลอดเวลา ผู้ใช้จารบีหลายต่อหลายรายยังไม่ค่อยรู้จักคุณสมบัติและการใช้งานที่เหมาะสม ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและผิดพลาดในการใช้งาน  ดังนั้นจึงขอแนะนำเรื่องจารบีให้ท่านผู้อ่านรู้จักกันโดยสังเขป ซึ่งจะเน้นเฉพาะจารบีที่เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเท่านั้น

ส่วนผสมการผลิตจารบี 
          จารบีได้จากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานผสมกับสารเคมีเพิ่มคุณภาพและสบู่  สบู่ที่ผสมลงไปจะทำให้จารบีข้นเหนียวเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งแข็งกึ่งเหลว ช่วยอุ้มและจับเกาะน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและสารเคมีเพิ่มคุณภาพไว้ ณ จุดหล่อลื่นโดยไม่เยิ้มทะลักออกมาภายนอก
          น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานผสมกับสารเคมีเพิ่มคุณภาพก็คือน้ำมันหล่อลื่นสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่เราใช้งานอันอยู่นั่นเอง ความแตกต่างของจารบีแต่ละชนิดอยู่ที่คุณสมบัติของสบู่ที่ผสม โดยทั่วไปสบู่ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างด่างและกรดไขสัตว์หรือน้ำมันพืช ยกเว้นบางกรณีอาจสารอื่นๆ เป็นส่วนผสมแทนสบู่
          คุณสมบัติของสบู่แต่ละชนิดมีผลโดยตรงถึงคุณสมบัติของจารบีดังนี้

ชนิดของสบู่
คุณสมบัติของจารบีที่ได้
สบู่แคลเซียม
ทนน้ำไม่ทนความร้อน
สบู่โซเดียม
ทนความร้อนไม่ทนน้ำ
สบู่อลูมิเนียม
ทนน้ำไม่ทนความร้อน
สบู่แคลเซียมคอมเพล็กซ์
ทนน้ำ ทนความร้อนสูงและรับแรงกดได้ดี
สบู่ลิเธียม
ทนน้ำ ทนความร้อน
สบู่ลิเธียมคอมเพล็กซ์
ทนน้ำ ทนความร้อนสูงและรับแรงกดได้ดี
COLLOIDAL CLAY
ทนน้ำ ทนความร้อนสูงมาก

วิธีการผลิตจารบี
          เริ่มต้นเราต้องเอาไฮดรอกไซด์ของโลหะ (ด่าง) มาผสมกับไขสัตว์ หรือน้ำมันพืชให้เป็นสบู่เสียก่อน แล้วจึงผสมน้ำมันพื้นฐานกับสบู่ ขั้นต่อไปก็เติมสารเคมีเพิ่มคุณภาพต่างๆ ตามต้องการ ปกติแล้วกระบวนการทั้งหมดจะทำในภาชนะอันเดียว เรียกว่า Kettle เป็นถังเหล็กมีลักษณะทรงกลมสูงตอนล่างเป็นรูปกรวย ภายในมีเครื่องกวน ซึ่งหมุนอยู่ในแนวตั้ง เครื่องกวนจะกวนให้น้ำมันและสบู่คลุกเคล้าเข้ากันด้วย ภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด ให้ได้ผลิตภัณฑ์จารบีสำเร็จรูป 

คุณสมบัติอื่นๆ ของจารบี 
1. ความอ่อนแข็ง (Consistency)
          จารบีชนิดเดียวกันอาจมีความอ่อนแข็งต่างกัน ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของสบู่และความหนืดของน้ำมันพื้นฐาน ทางสถาบันจารบีในสหรัฐอเมริกา (National Lubricating Grease Institute) หรือชื่อย่อ NLGI ได้กำหนดความอ่อนแข็งของจารบีออกเป็นเบอร์โดยปล่อยเครื่องมือรูปกรวยปลายแหลมให้ปักจมลงในเนื้อจารบี ในเวลา 5 วินาที (อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส) โดยเบอร์ต่ำเป็นจารบีที่เหลวหรืออ่อน (ระยะจมน้อย) ส่วนระยะจม (Penetration) วัดเป็นหน่วย 1/10 มิลลิเมตร ซึ่งแต่ละเบอร์แตกต่างกันดังนี้ 

เบอร์ความแข็งจารบี
 NGLI  No.
ระยะจม (1/10 มม.)
ที่ 25 องศาเซลเซียส
000
445-475
00
400-430
0
355-385
1
310-340
2
265-295
3
220-250
4
175-205
5
130-160
6
85-115

2. จุดหยด (Dropping Point)
          เนื่องจากจารบีเป็นส่วนผสมของน้ำมันหล่อลื่นและสารเกาะติดประเภทสบู่ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โอกาสที่น้ำมันจะเยิ้ม แยกตัวออกมาย่อมเป็นไปได้มาก จุดหยดของจารบีคือ อุณหภูมิซึ่งจารบีหมดความคงตัวเยิ้มไหลกลายเป็นของเหลว ดังนั้นจุดหยดตัวจึงเป็นจุดบ่งบอกถึงอุณหภูมิสูงสุดที่จารบีทนได้ 

3. สารเคมีเพิ่มคุณสมบัติ (Additive)
          สารเคมีเพิ่มคุณภาพที่ผสมอยู่ในจารบี มีผลในการใช้งาน สารเคมีเพิ่มคุณภาพที่ผสม ได้แก่ สารรับแรงกดแรงกระแทก  (EP  หรือ  Extreme pressure additive) สารป้องกันสนิมและการกัดกร่อน ฯลฯ นอกจากนี้ถ้าเป็นจารบีใช้งานพิเศษบางชนิดอาจจะผสมสารหล่อลื่นลงไปด้วย เช่น โมลิบดินั่มไดซัลไฟด์  กราไฟท์ ฯลฯ
การเลือกใช้จารบี
          จารบีที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายประเภทผู้ใช้ต้องพิจารณาถึงการเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้มีดังนี้
จารบีทนความร้อน
  1. สัมผัสกับน้ำและความชื้นหรือไม่ ถ้าสัมผัสหรือเกี่ยวข้องต้องเลือกใช้จารบีประเภททนน้ำ ถ้าเลือกใช้ผิดประเภทจารบีจะดูดความชื้นหรือน้ำ ทำให้เยิ้มหลุดออกจากจุดหล่อลื่นได้
  2. อุณหภูมิใช้งานสูงมาน้อยแค่ไหน จุดใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า 80 องศาเซลเซียส ควรเลือกใช้จารบีประเภททนความร้อน ถ้าเลือกใช้ไม่ถูกต้อง จารบีจะเยิ้มเหลวทะลักออกมาจากจุดหล่อลื่น
  3. ในกรณีที่สัมผัสทั้งน้ำและความร้อน ควรเลือกใช้จารบีอเนกประสงค์ (Multipurpose) คุณภาพดีหรือจารบีคอมเพล็กซ์ (Complex) ซึ่งแน่นอนว่าราคาย่อมแพงกว่าจารบีประเภททนน้ำหรือความร้อนเพียงอย่างเดียว
  4. มีแรงกดแรงกระแทกระหว่างการใช้งาน ถ้ามากควรพิจารณาเลือกใช้จารบีประเภทผสมสารรับแรงกดแรงกระแทก (EP  Additive)
  5. สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น ถ้ามีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก จะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ต้องอัดจารบีบ่อยครั้งขึ้น
  6. วิธีการใช้งาน ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ถ้าเป็นแบบจุดจ่ายกลาง (Central system) ก็ควรใช้จารบีอ่อน คือเบอร์ 0 หรือ เบอร์ 1 ถ้าเป็นพวกกระปุกเฟืองเกียร์ก็ควรใช้จารบีอ่อนคือเบอร์ 0 หรือ 1 ถ้าอัดด้วยมืออัดหรือปืนอัด อาจใช้เบอร์ 2 ถึง 3 หรือแข็งกว่านี้ ป้ายหรือทาด้วยมือความแข็งอ่อนไม่สำคัญมากนัก นอกจากนั้นถ้าเป็นจุดที่ยากต่อการหล่อลื่นควรใช้สเปรย์จารบีประเภทที่อยู่ในรูปของจารบีเหลวในกระป๋องสเปรย์ ซึ่งเมื่อฉีดพ่นออกมาแล้วจะสามารถไหลแทรกซึมเข้าไปตามซอกมุมต่างๆ แล้วเปลี่ยนสภาพกลายเป็นจารบีกึ่งแข็งกึ่งเหลวปกติ และคงสภาพการหล่อลื่นตลอดไปข้อมูลเพิ่มเติมที่   www.maintenancespray.com


จารบีทนน้ำ
จารบีเอนกประสงค์
ที่มา 

ตำแหน่งที่จะทำการหล่อลื่นในเครื่องรีดยางเครพ
หล่อลื่นบริเวณเสื้อแบริ่งหรือเสื้อบู๊ช
เป้าหมายหล่อลื่นแบริ่งหรือบุ๊ช
ตำแหน่งการอัดจารบีที่หัวอัด เหนือเสื้อแบริ่ง

สมพงค์
087-6923836
http://hatyaimechdesign.blogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พบกับ hatyaimechdesign ออนทัวร์ถิ่นอีสาน เร็วๆนี้

ร่วมเสวนา เทคนิคการจัดการโรงงานยางเครพ ณ ภาคอีสาน เดือนธันวาคมนี้ครับ

          
1.       เรื่องเครื่องจักรรีดยางเครพ
  • กำลังการผลิตในปัจจุบันเหมาะสมกับเครื่องจักรของท่านแล้วหรือไม่? เดินเครื่อง เร็วไป หรือช้าไป หรือไม่เหมาะสมหรือไม่?
  • ท่านสามารถเดินเครื่องจักรให้ได้ผลผลิตมากกว่านี้อีกได้หรือไม่?
  • เครื่องจักรยางเครพของท่านมีจุดบกพร่องที่จุดไหน? แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร?
  • ประสิทธิภาพของกลไกแต่ละตัวอยู่ในสภาพเป็นอย่างไร?  ตรวจสอบหน่อยเป็นไร?
                 เช่น เกียร์ สายพาน ลูกปืน สภาพลูกกลิ้ง ดอก-ลาย ความลึกของดอกลูกกลิ้ง เป็นต้น

2.       การใช้จ่ายค่าไฟฟ้า
  • ค่าไฟฟ้าในการผลิตต่อหน่วยผลิตเป็นอย่างไรในปัจจุบัน
  • อัตราผลผลิตยางเครพต่อหน่วยไฟฟ้าเป็นอย่างไร? จะลดได้หรือไม่? จะลดจะทำอย่างไร?

 3.       การวาง line เชื่อมต่อระบบ line ผลิต
  • ปัจจุบันมีเครื่องอยู่เครื่องเดียว สามารถเพิ่มเครื่องให้ต่อกันได้หรือไม่ จะได้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร?
  • ปัจจุบันวางเครื่องแบบเดี่ยวๆ แต่มีหลายเครื่อง ถ้าจะเอามาต่อกันเป็น line ผลิต จะทำได้หรือไม่ เหมาะสมไหม กำลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่
  • ปัจจุบันมี line ผลิตอยู่แล้ว ปรากฏว่าแต่ละเครื่องทำงานประสานกันหรือไม่ มีอาการคอคอร์ดหรือไม่
  • กำลังการผลิต line เป็นอย่างไร line balance ไหม?

4.       การวางตากยางเครพ

  • ความชื้นของยางต่อเวลาในการตากยางเป็นอย่างไร?
  • ความเร็วในการตากยางเป็นอย่างไร 3 วันความชื้นเท่าไร? ตาก7วันความชื้นเหลือเท่าไหร่?
  • ความเพียงพอของโรงตากยาง กำลังผลิตมาก ที่ตากพอไหม? เอาไปตากตรงไหน?
  • การประยุกต์การตากยาง

5.       การบริหารการผลิต

  •  การควบคุมสโตร์วัตถุดิบ
  • การควบุมการผลิตยางเครพ
  • การควบคุมสตอร์กยางเครพแห้งรอจำหน่าย
  • การบริหารจัดการคนงาน
สมพงค์ 
087-6923836

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รีโทรฟิต (Retrofit) คืออะไร

รีโทรฟิต คืออะไร

     ในการใช้งานเครื่องจักรกลบ่อยครั้งที่เราพบว่าเครื่องจักรเก่าๆ ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานที่ล้าสมัย
หรือส่วนประกอบบางส่วนอาจเกิดความเสียหายทำให้ไม่สามารถใช้งานได้แต่ส่วนประกอบหลัก ๆ
ยังสามารถใช้งานได้ดี ดังนั้น การปรับปรุงฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องจักรโดยปรับปรุงชุดควบคุม
(Controller)  การปรับปรุงระบบขับเคลื่อนแกน  (Drive System)  เช่น  มอเตอร์ (Motor),
ไดร์ฟเวอร์ (Driver) และการปรับปรุงระบบ (Mechanic System)  อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือทั้งสามอย่างรวมกันเพื่อให้เครื่องจักรที่เสียหาย หรือล้าสมัยสามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
เรียกว่า
  การรีโทรฟิต

ชนิดของการรีโทรฟิต
     ชนิดของการรีโทรฟิตขึ้นอยู่กับสภาพของเครื่องจักร และฟังก์ชันการทำงานที่ต้องการหลังจากการรีโทรฟิตหากเครื่องจักรเดิมเกิดความเสียหายมากหรือต้องการฟังก์ชันการทำงานพิเศษรวมทั้งเครื่องจักรอาจมีอุปกรณ์เพิ่มเติมแน่นอนว่าการรีโทรฟิตย่อมต้องการทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงรวมทั้งต้นทุนในการพัฒนาซอฟแวร์เพิ่มเติมอย่างไรก็ตามเราสามารถแบ่งการรีโทรฟิตได้สามระดับตามความเสียหาย  และความคุ้มค่าโดยประยุกต์ให้เหมาะสม
กับผู้ประกอบการในไทย ดังนี้ 


1. แบบพื้นฐาน
      
คือ การเปลี่ยนเฉพาะชุดควบคุมเหมาะสำหรับเครื่องจักรที่อุปกรณ์ในระบบควบคุมมีปัญหา
เกิดการชำรุดเสียหายจากอายุการใช้งานไม่สามารถซ่อมหรือนำมาเปลี่ยนใหม่ได้เนื่องจากผู้ผลิตได้ยกเลิกการ
ผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวเพราะล้าสมัยหรือมีรุ่นใหม่มาแทนอย่างไรก็ตามการรีโทรฟิตแบบพื้นฐานใช้ต้นทุนต่ำความสำเร็จจึงมีน้อยเมื่อเทียบกับการรีโทรฟิตแบบกึ่งสมบูรณ์และแบบสมบูรณ์

  

2. แบบกึ่งสมบูรณ์
  
   เป็นการเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์ควบคุมทางไฟฟ้าที่สำคัญ คือ ชุดควบคุม และมอเตอร์
ขับเคลื่อนแกนทั้งหมด  จากข้อ 1 ผู้อ่านได้ทราบถึงกระบวนการเปลี่ยนหรือปรับปรุงคอนโทรลเลอร์ไปแล้วเพราะฉะนั้นจึงขอกล่าวเพิ่มเติมในส่วนของระบบขับเคลื่อนแกน  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เซอร์โวมอเตอร์  (Servo Motor)  เป็นตัวขับเคลื่อนสำหรับเทคโนโลยีเดิมจะมีทั้งสเตปเปอร์มอเตอร์ (Stepper Motor) และมอเตอร์กระแสตรง (DC Motor) มักจะเกิดปัญหา ซึ่งในประเทศไทยการที่จะหาอะไหล่เหล่านี้เป็นเรื่องยากหรือถ้ามีส่วนใหญ่มักเป็นของมือสอง  และมีราคาสูง ผู้ขายไม่สามารถรับประกันได้  การรีโทรฟิตแบบนี้สามารถให้ความสำเร็จในระดับปานกลางด้วยราคาต้นทุนในระดับปานกลางเช่นกัน 

  

3. แบบสมบรูณ์
      หลังจากที่ได้ทราบถึงการรีโทรฟิตในข้อที่ 1 และ 2 แล้วการรีโทรฟิตที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดลำดับสุดท้ายคือ  แบบสมบูรณ์  โดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ควบคุมทางไฟฟ้าเกือบทั้งหมดโดยรวมถึงการเปลี่ยนคอนโทรลเลอร์ระบบมอเตอร์ขับเคลื่อนแกนทั้งหมด  ซึ่งจะได้ความถูกต้องแม่นยำในการเคลื่อนที่ใกล้เคียงกับเครื่องจักรใหม่ในงบประมาณการลงทุนของผู้ประกอบการที่ต่ำกว่ามาก  การรีโทรฟิตยังขึ้นอยู่กับระบบอื่น ๆ ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับตัวเครื่องจักรอีกด้วย  เช่น  แบบแปลน  ระบบของเครื่อง  (System Diagram),  ระบบลมอัด  (Pneumatic System), ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic System) และฟังก์ชั่นที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับเครื่องจักรนั้น ๆ




ระบบตู้คอนโทรลเครื่องยางเครพ

ปรับปรุงระบบคอนโทรล เครื่องยางเครพ (Retrofit เครื่องจักรยางเครพ)
สมพงค์
http://hatyaimechdesign.blogspot.com
087-6923836