วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สำรวจสวนยางเพื่อรองรับโรงงานผลิตยางเครพ

มาถึงอุดรธานีปั๊บก็แชะรูปกับเครื่องปั้นดินเผาสัญลักษณ์บ้านเชียงอุดรธานี
มาถึงไม่พูดพ่ามทำเพลงเข้าสำรวจสวนยางวัตถุดิบที่จะป้อนเข้าโรงงานกันซะก่อน ว่าพอจะตั้งโรงงานได้หรือไม่



ลักษณะสวนยางส่วนใหญ่ในจังหวัดบึงกาฬ จะทำยางถ้วยลักษณะดังรูป โดยจะกรีดสองเช้าเว้นหนึ่งเช้า โดยจะกรีดจนเต็มถ้วยดังรูป ยางที่นี่พบว่ามีการปลูกเป็นจังหวัดต้น ๆ ของภาคอีสานมียางที่มีอายุ 20 กว่าปีด้วย ยางที่มีอายุระดับนี้ในภาคใต้บางสวนอาจจะโค่นขายไม้แล้วปลูกใหม่อันเนื่องมาจากกรีดแล้วได้น้ำยางน้อย
 ผมเดินสำรวจสวนยางโดยดูปริมาณน้ำยางในแต่ละเช้า เปอร์เซ้นต์ยาง พบว่ามีอัตราค่อนข้างดี เนื่องจากบึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีมรสุมพาดผ่านทำให้น้ำท่าสมบูรณ์ปลูกยางได้ผลดีทีเดียว


 ยางเต็มถ้วยทุกต้น มีหวังแล้วครับ ต่อไปก็เริ่มสำรวจพื้นที่กันเลยดีกว่า
 ลงสำรวจพื้นที่ อันดับแรกที่ผมหาก่อนที่จะทำอย่างอื่นคือแหล่งน้ำครับ ในภาพผมลงรถปุ๊บเดินหาน้ำปั๊บทันที
 พยายามหาชัยภูมิวางเครื่องจักร โรงเรือน OFFICE และ WAREHOUSE บ้านพัก โรงตากยาง เตาอบ ลานเทยาง รวมทั้งตำแหน่งวางตาชั่งและที่กลับรถเทเลอร์ด้วย
 กำหนดจุดต่าง ๆ และอธิบายประกอบให้ผู้ประกอบการฟัง
สำรวจทั่วทั้งพื้นที่แต่ใช้พื้นที่ในวงจำกัดเพื่อการประหยัดพื้นที่
 สำรวจระดับความสูงต่ำของที่ดินและร่องน้ำไหล การวาง flow ของน้ำดีและน้ำเสีย
 การตรวจ สำรวจพื้นที่ใกล้เคียงที่อาจจะเกิดผลกระทบเมื่อเราสร้างโรงงาน
 
อธิบายลำดับการจัดวางตำแหน่งเครื่องและโรงงานให้กับผู้ประกอบการ
 เช็คระยะการเข้าของรถเทเลอร์บรรทุกเครื่องจักร และตรวจสอบระยะการกางขาช้างของรถเทเลอร์

สรุปงานวางผังคร่าว ๆ ในที่ร่มเพราะตากแดดผ่าบ่ายกันเลยทีเดียว เดี๋ยวค่อยไปสรุปงานการวัดผังโรงงานที่บ้าน


สรุปงาน การวางผังรายละเอียด ตำแหน่งการวางเครื่องจักร การจราจรในโรงงาน การบริหารจัดการ และอื่นๆ ให้ผู้ประกอบการฟังครับ ก่อนกลับ ไปเตรียมเอกสารเพื่อขออนุญาตตั้งโรงงานต่อไปครับ

1 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น